หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ภาวะความเป็นผู้นำ (Leadership) โดย บารมี จรัสสิงห์  (อ่าน 98651 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
บารมี-บา(ICT)
plan08042
Newbie
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 34



« เมื่อ: มีนาคม 24, 2016, 04:29:27 pm »

ภาวะความเป็นผู้นำ (Leadership)
นายบารมี  จรัสสิงห์
นักวิชาการสถิติชำนาญการพิเศษ
   การที่องค์การจะประสบความสําเร็จหรือล้มเหลวนั้นขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของ ผู้นําในองค์การนั้นเป็นอย่างมาก ทั้งนี้เพราะผู้นําที่ดีจะพัฒนา ผู้ใต้บังคับบัญชาหรือผู้ปฏิบัติงานของหน่วยงานนั้นได้ดีและทั้งสองฝ่าย ก็จะช่วยกันสร้างผลผลิต สินค้า หรือบริการที่ต้องการได้ ดังนั้นในทุก วันนี้จะเห็นได้ว่าการฝึกอบรมในองค์การต่างๆ ได้ให้ความสําคัญแก่เรื่อง ภาวะความเป็นผู้นํา (Leadership) มากขึ้น ซึ่งเป็นการพยายาม แสวงหาวิธีการใหม่ๆในการพัฒนานักบริหารให้เป็นผู้นําที่ดี
ความหมาย
สุเทพ พงศ์ศรีวัฒน์ 1ได้กล่าวถึงภาวะความเป็นผู้นํา ไว้ดังนี้
    1. เป็นผู้รักษาหรือประสานให้สมาชิกกลุ่มอยูร่วมกัน หมายถึง จะต้องอยู่ใกล้ชิดกับกลุ่ม มีความสัมพันธ์กับคนในกลุ่ม และเป็นที่ ยอมรับของคนในกลุ่มทําให้มีความสามัคคีกลมเกลียวกัน
2. เป็นผู้ปฏิบัติภารกิจของกลุ่มให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ หมายถึง ผู้ทีจะต้องรับผิดชอบ ในกระบวนการวิธีการทํางานด้วยความมั่นคงและเข้าใจได้ และจะต้องทํางานให้บรรลุเป้าหมาย
3. เป็นผู้อํานวยให้เกิดการติดต่อสัมพันธ์ในกลุ่ม หมายถึง จะต้องปฏิบัติงานในทางที่อํานวยความสะดวกให้เกิดการติดต่อสัมพันธ์และปฏิบัติ กันด้วยดี ของสมาชิกในกลุ่ม การติดต่อสือสารทีดีเป็นสิ่งสําคัญ และเป็นการช่วยให้หน้าที่นี้บรรลุเป้าหมาย
สตอกดิลล์ ได้สรุปทฤษฎีภาวะผู้นำไว้ 6 ทฤษฎีดังนี้ 3
1. ทฤษฎีผู้ยิ่งใหญ่ (Great Man Theories) นักทฤษฎีในกลุ่มนี้พยายาม อธิบายว่าการเป็นผู้นำเป็นผลมาจากพันธุกรรม นั้นคือ เป็นผู้นำมาโดยกำเนิด (Leaders are born) เกิดมาพร้อมกับลักษณะบางอย่างที่จะส่งเสริมและสนับสนุนให้ เป็นผู้นำ อนุชาของกษัตริย์ย่อมมีอำนาจและอิทธิพลมากกว่าคนธรรมดาอื่น ๆ ผู้นำจะมีบุคลิกลักษณะเฉพาะที่แตกต่างไปจากคนอื่น นักทฤษฎีในกลุ่มนี้เชื่อว่า ประวัติศาสตร์ของโลก   คือ ประวัติของผู้ยิ่งใหญ่
2. ทฤษฎีสิ่งแวดล้อม (Environmental Theories) นักทฤษฎีในกลุ่มนี้มี ความเห็นว่า ผู้นำเป็นผลมาจากเวลา สถานที่ และสภาพแวดล้อม สิ่งแวดล้อมเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่ก่อให้เกิดความเป็นผู้นำ สถานการณ์ทำให้เกิดผู้นำ นัก ทฤษฎีในกลุ่มนี้เชื่อว่าผู้นำเกิดขึ้นได้ด้วยความสามารถและทักษะในการแก้ปัญหา สังคม สงครามและวิกฤตการณ์ต่าง ๆ เปิดโอกาสให้คนเป็นผู้นำได้
3. ทฤษฎีบุคคลและสถานการณ์ (Personal-Situation Theories) ทฤษฎีผู้ ยิ่งใหญ่และทฤษฎีสิ่งแวดล้อมพยายามอธิบายแหล่งที่เกิดของภาวะผู้นำเพียงอย่างเดียว คือ ถ้ามิใช่คุณลักษณะเฉพาะหรือความเป็นอัจฉริยะ แล้วก็เป็นสิ่งแวดล้อมหรือ สถานการณ์   แต่ทฤษฎีนี้อธิบายว่า   ภาวะผู้ผู้นำเป็นผลมาจากปฎิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับสถานการณ์ นักทฤษฎีในกลุ่มนี้บางคนเชื่อว่าผู้นำเป็นผลของ
1) ลักษณะทางบุคลิกภาพของผู้นำ
2) ธรรมชาติของกลุ่มและสมาชิกของกลุ่ม
3) เหตุการณ์หรือปัญหาที่กลุ่มเผชิญอยู่
หน้าที่สำคัญของผู้นำก็คือ
1) ช่วยเหลือกลุ่มในการกำหนดเป้าหมาย
2) ช่วยเหลือกลุ่มในการหาวิธีการที่จะบรรลุเป้าหมายของผู้นำ
ภาวะผู้นำเป็นปฏิสัมพันธ์ระหว่างเป้าหมายของผู้นำ และเป้าหมายกับความต้องการของผู้ตาม
4. ทฤษฎีปฏิสัมพันธ์และความคาดหวัง (Interaction-Expectation Theories) นักทฤษฎี            ในกลุ่มนี้อธิบายว่าภาวะผู้นำก็คือการสร้างปฏิสัมพันธ์ ผู้นำจะมีคุณค่า มากยิ่งขึ้น หากปฏิสัมพันธ์นั้นเป็นไปตามความคาดหวังของกลุ่ม แรงจูงใจในการ ทำงานของสมาชิกจะเปลี่ยนไปตามการเปลี่ยนแปลงความคาดหวังในเรื่องของรางวัล และการลงโทษ
5. ทฤษฎีมนุษยธรรม (Humanistic Theories) นักทฤษฎีในกลุ่มนี้อธิบายว่า โดยธรรมชาติแล้วมนุษย์ต้องการแรงจูงใจจึงพัฒนาแนวคิดเกี่ยวกับประสิทธิภาพ และความกลมเกลียวของหน่วยงาน ผู้ผู้นำจำเป็นจะต้องหาทางส่งเสริม ควบคุม หรือจูงใจในลักษณะที่เหมาะสม เพื่อให้สมาชิกของกลุ่มปฏิบัติภารกิจเพื่อการ บรรลุเป้าหมายของกลุ่ม ทฤษฎีนี้เน้นความเป็นมนุษย์ และธรรมชาติของมนุษย์ ของสมาชิกภายในองค์การ
6. ทฤษฎีการแลกเปลี่ยน (Exchange Theories) ทฤษฎีนี้ตั้งอยู่บนสมมุติ ฐานที่ว่า ปฏิสัมพันธ์ทางสังคมนั้นปรากฏในรูปของการแลกเปลี่ยนระหว่างสมาชิก ในกลุ่ม ปฏิสัมพันธ์จะดำเนินต่อไปตราบเท่าที่สมาชิกยังได้รับประโยชน์ร่วมกัน จากการแลกเปลี่ยนทางสังคมนั้น สมาชิกของกลุ่มมอบเกียรติ สถานะ และศักดิ์ศรี ให้กับผู้นำ เพี่อแลกกับการที่ผู้ผู้นำช่วยให้กลุ่มบรรลุเป้าหมายได้



ความสําคัญของความเป็นผู้นํา 2
 1. เป็นส่วนที่ดึงความรู้ความสามารถต่างๆ ในตัวผู้บริหารเองออกมาใช้
2. ช่วยประสานความขัดแย้งต่างๆ ภายในหน่วยงาน
3. ช่วยโน้มน้าวชักจูงให้บุคลากรทุ่มเทความรู้ความสามารถให้แก่องค์การ
4. เป็นหลักยึดให้แก่บุคลากรเมื่อหน่วยงานเผชิญสภาวะคับขัน
ภาวะความเป็นผู้นําพื้นฐาน  4 แบบ
 1. ผู้นําแบบการบอก  (Telling Leadership Style) แบบนี้จะเป็นผู้นําที่ เน้นงานสูง (High-task) และการเน้นสัมพันธภาพจะตํ่า (Lowrelationship) ภาวะการเป็นผู้นําแบบนี้จะใช้ได้ผลก็ต่อเมื่อผู้ตามมี ภาวะความเป็นผู้ใหญ่ในระดับตํ่ามาก
 2. ผู้นําแบบการขาย  (Selling Leadership Style) แบบนี้จะเป็นผู้นําที่ เน้นงานสูง (High-task) และการเน้นสัมพันธภาพก็สูงด้วย (High-relationship) ภาวะการเป็นผู้นําแบบนี้จะใช้ได้ผลก็ ต่อเมื่อผู้ตามมีภาวะความเป็นผู้ใหญ่ในระดับตํ่า
    3. ผ้นําแบบการมีส่วนร่วม (Participating Leadership Style) แบบนี้จะเป็นแบบภาวะการเป็นผู้นําที่ เน้นงานตํ่า (Low-task) แต่การเน้นที่สัมพันธภาพจะสูง (Highrelationship) ภาวะการเป็นผู้นําแบบนี้จะใช้ได้ผลก็ต่อเมื่อผู้ตามมี ภาวะความเป็นผู้ใหญ่ในระดับที่สูง
4. ผู้นําแบบการมอบหมายงาน  (Delegating Leadership Style) แบบนี้จะเป็นแบบผู้นําที่ เน้นงานตํ่า (Low-task) และการเน้นสัมพันธภาพก็จะตํ่าด้วย (Low-relationship) ภาวะการเป็นผู้นําแบบนี้จะใช้ได้ผลก็ ต่อเมื่อผู้ตามมีภาวะความเป็นผู้ใหญ่ในระดับสูงมาก
 ถ้าพฤติกรรมเหล่านี้เกิดขึ้นในหน่วยงานใด   หัวหน้าหรือผู้นำ หน่วยงานนั้นจะเป็นบุคคลที่มี
ภาวะความเป็นผู้นำที่ดี คือ4
1. ผู้ใต้บังคับบัญชา  จะเป็นผู้มาขอคำแนะนำปรึกษามากกว่าที่หัวหน้าจะเป็นผู้สั่งการ
2. ผู้นำสามารถเสนอแนะผู้ใต้บังคับบัญชา   โดยที่ผู้ใต้บังคับบัญชาไม่รู้สึกว่า นั่น
เป็นคำสั่ง
3. ผู้นำสามารถไปที่ใดๆ   ในหน่วยงานได้   โดยผู้ใต้บังคับบัญชาไม่รู้สึกว่า เป็นการ
ไปตรวจงานหรือไปจับผิด
4. ผู้นำมักจะไม่ค่อยได้ยินการนินทาเกี่ยวกับชีวิตส่วนตัวของสมาชิก แต่ ถ้าหาก
หน่วยงานหรือสถานศึกษามีปัญหาเกิดขึ้น เขาควรจะได้ฟังเป็นคนแรก
      5. ผู้ใต้บังคับบัญชาจะ เสนอเรื่อง เพื่อการตัดสินใจ เฉพาะในสิ่งที่นอกเหนือ อำนาจของผู้ใต้บังคับบัญชา
6. เมื่อผู้นำไปราชการที่อื่น เขากลับมาโดยไม่หวังว่าจะต้องพบกับปัญหา หรือความ
ยุ่งยากในหน่วยงานของเขา
7. ถ้าผู้ใต้บังคับบัญชาไม่เห็นด้วยกับนโยบายของหน่วยงาน สิ่งนี้จะไม่นำ ไปสู่การ
ทะเลาะวิวาทเป็นส่วนตัว
8. เมื่อผู้นำเป็นประธานในที่ประชุม สมาชิกก็จะยินดีอภิปรายออกความเห็น และ
เสนอแนะโดยไม่นั่งเฉย ถ้าเกิดมีความคิดเห็นไม่ตรงกันก็จะถกเถียงกันเฉพาะ ในห้องประชุมเท่านั้น
9. เมื่อผู้นำเข้าร่วมประชุมโดยที่ผู้ใต้บังคับบัญชาเป็นประธาน การประชุม นั้นก็จะ
ดำเนินไปตามปกติ
10. ถ้าหากผู้นำจะปรึกษาผู้อื่นเกี่ยวกับการเลื่อนตำแหน่ง   การแต่งตั้งหรือ อื่น ๆ เขา
ควรจะปรึกษากับบุคคลตามสายบังคับบัญชา
11. การย้าย เปลี่ยนงาน หรือลาออกของผู้ใต้บังคับบัญชามีน้อย
12. เมื่อผู้นำไม่อยู่ สถานศึกษานั้นสามารถดำเนินต่อไปได้ตามปกติ
13. การแตกเป็นก๊กเป็นเหล่าของผู้ใต้บังคับบัญชามีน้อยมาก
14. ผู้ใต้บังคับบัญชาร่วมทำงานกันเป็นคณะ    เพื่อความสำเร็จของงานมากกว่า เพื่อ
หวังผลประโยชน์อย่างอื่น
แนวโน้มในปัจจุบันของภาวะผู้นำ5
                Transactional leadership   คือ ภาวะผู้นำที่มีการติดต่อสัมพันธ์กับผู้ร่วมงานโดยการให้รางวัล และการเข้าถึงผู้ปฏิบัติงาน และจูงใจด้วยการแลกเปลี่ยนด้วยการให้รางวัล
                Transformational leadership คือ ภาวะผู้นำที่มีอำนาจบารมี และจูงใจปฏิบัติงานด้วยวิธีการหลายวิธี เช่น การสื่อสารที่ชัดเจนเกี่ยวกับวิสัยทัศน์
บรรณานุกรม
 1.   สุเทพ พงศ์ศรีวัฒน์.(2550).ภาวะความเป็นผู้นำ(พิมพิ์ครั้งที่ 1).กรุงเทพมหานคร :
บริษัท ส.เอเซียเพรส(1989)จำกัด
 2. สาวิตรี ชีวะสาธน์ http://www.teacher.ssru.ac.th/sawitree_ch/file.php/1/COC1101/powerpoint/OGC_C6.pdf
 3. Stogdill, Ralph M. (1974). Handbook of Leadership. New York : Free Press.
 4.ศ.ดร.เสริมศักดิ์  วิศาลาภรณ์.(2525).   พฤติกรรมผู้นำทางการศึกษา  (พิมพ์ครั้งที่ 2 ) กรุงเทพมหานคร ไทยวัฒนาพานิช.
 5. "้//kaykakill.awardspace.com/OM/Chapter/OM_Chapter_12.doc"
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  



เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น