ประวัติความเป็นมา
เรื่อง : ประวัติและความเป็นมา Update
ประวัติและความเป็นมาของสานักยุทธศาสตร์สุขภาพจิต
กรมสุขภาพจิต


การบริการสุขภาพจิตในประเทศไทยได้ถือกาเนิดเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2432 โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดาริให้มีการจัดตั้งโรงพยาบาลคนเสียจริต ปากคลองสานขึ้น (เดิมคือโรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา ปัจจุบัน คือสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา ) ในปี พ.ศ. 2475 เปลี่ยนชื่อจากโรงพยาบาลคนเสียจริต เป็น โรงพยาบาลโรคจิตธนบุรี หลังจากนั้นได้มีการขยายงานบริการสุขภาพจิตและจิตเวช โดยการจัดตั้งโรงพยาบาลจิตเวชเพิ่มมากขึ้น และกระจายออกไปในส่วนภูมิภาคครอบคลุมทั่วประเทศ กองสุขภาพจิตต์ ได้รับการจัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2482 โดยในขณะนั้นสังกัดกรมสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทย มีสานักงานที่โรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา มีหน้าที่ควบคุมดูแลโรงพยาบาลโรคจิตทั้งหมด วันที่ 10 มีนาคม 2485 ได้โอนกองสุขภาพจิตต์ มาสังกัดกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข และเปลี่ยนชื่อเป็น กองโรงพยาบาล โรคจิต และเป็นกองสุขภาพจิตเมื่อปี 2515 โดยลาดับตั้งอยู่บริเวณวังเทวะเวศว์ สามเสน กรุงเทพมหานคร สังกัดกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบงานสุขภาพจิตทั่วประเทศ มีหน่วยงานในสังกัดทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ในวันที่ 1 เมษายน 2524 ได้ย้ายที่ทาการมาที่กองสุขภาพจิต ถนนติวานนท์ จังหวัดนนทบุรี แบ่งส่วนราชการออกเป็น 4 ฝ่าย คือ
1) ฝ่ายบริหารทั่วไป
2) ฝ่ายแผนงานและประเมินผล
3)ฝ่ายการศึกษา ฝึกอบรม และเผยแพร่
4) ฝ่ายนิเทศ

มีหน่วยงานในสังกัดทั้งในส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค รวมทั้งสิ้น 11 แห่ง ซึ่งฝ่ายแผนงานและประเมินผล กองสุขภาพจิต กรมการแพทย์ คือจุดเริ่มต้นของสานักยุทธศาสตร์สุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต ในปัจจุบันฝ่ายแผนงานและประเมินผลในขณะนั้นมีหัวหน้าฝ่ายแผนงานและประเมินผล คือ นางสาวนวลจันทร์ หลิ่วรุ่งเรือง ตาแหน่งเจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน 7 ต่อมากองสุขภาพจิตได้แยกตัวออกจากกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข และจัดตั้งเป็นหน่วยงาน ระดับกรม คือ สถาบันสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ตามพระราชบัญญัติ

ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2535 ดังได้ตราไว้ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 109 ตอนที่ 45 วันที่ 9 เมษายน พุทธศักราช 2535 จากการที่จัดตั้งเป็นสถาบันสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุขนั้น ได้มีการแบ่งส่วนราชการในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค รวม 10 หน่วยงาน คือ
1. สานักงานเลขานุการกรม
2. กองแผนงาน
3. สานักพัฒนาสุขภาพจิต
4. รพ.สมเด็จเจ้าพระยา
5. รพ.ศรีธัญญา
6. รพ.ราชานุกูล
7. ศูนย์สุขภาพจิต 1 (ศูนย์สุขวิทยาจิต, รพ.นิติจิตเวช, รพ.ยุวประสาทไวทโยปถัมภ์, ศูนย์สุขภาพจิต ชัยนาท)
8. ศูนย์สุขภาพจิต 2 (รพ.สวนปรุง, ศูนย์สุขภาพจิตชุมชนเบ็ดเสร็จ จ.นครสวรรค์, ศูนย์พัฒนาวิชาการปัญญาอ่อนภาคเหนือ)
9. ศูนย์สุขภาพจิต 3 (รพ.พระศรีมหาโพธิ์, รพ.จิตเวชนครราชสีมา, รพ.จิตเวชขอนแก่น, รพ.จิตเวชนครพนม)
10. ศูนย์สุขภาพจิต 4 (รพ.สวนสราญรมย์)

นับจากนั้นฝ่ายแผนงานและประเมินผลจึงได้รับการยกระดับจากหน่วยงานระดับฝ่ายในกองสุขภาพจิต (ฝ่ายแผนงานและประเมินผล กองสุขภาพจิต) เป็น หน่วยงานระดับกอง คือ กองแผนงาน สถาบันสุขภาพจิต โดยมีผู้อานวยการคนแรก คือ นายแพทย์อุดม เพชรสังหาร

กองแผนงาน สถาบันสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้
1. เสนอความเห็นเพื่อประกอบการพิจารณาเสนอแนะนโยบายและแผนหลักด้านสุขภาพจิตและปัญญาอ่อน
2. จัดทาและประสานแผนงาน และแผนปฏิบัติการของสถาบันให้เป็นไปตามนโยบาย และแผนแม่บทของกระทรวง รวมทั้งกากับเร่งรัด ติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานตามแผนงานของหน่วยงานในสังกัด
3. ประสานงานกับองค์การหรือหน่วยงานต่าง ๆ เกี่ยวกับความช่วยเหลือและความร่วมมือด้านสุขภาพจิต และ ปัญญาอ่อน
4. เป็นศูนย์ข้อมูลข้อสนเทศของสถาบัน
5. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย ต่อมาในปี 2537 สถาบันสุขภาพจิตได้เปลี่ยนชื่อเป็น กรมสุขภาพจิต ตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2537 เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2537 โดยแยกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 18 หน่วยงาน ยกฐานะขึ้นเป็นกรมสุขภาพจิต แบ่งส่วนราชการกรมสุขภาพจิตออกเป็น 15 กอง |

กองแผนงาน กรมสุขภาพจิต เป็นหน่วยงานสังกัดกรมสุขภาพจิต มีอานาจและหน้าที่ตามกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2545 ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 119 ตอนที่ 103 ก หน้า 75 ดังนี้
1. จัดทาและประสานแผนงาน แผนปฏิบัติการของกรมให้เกิดผลสัมฤทธิ์เป็นไปตามเป้าหมาย แนวทางและแผนปฏิบัติราชการ กระทรวง รวมทั้งเร่งรัด ติดตาม และประเมินผลการปฏิบัติงานของหน่วยงานในสังกัดกรมฯ
2. ติดตามและประสานงานกับองค์การหรือหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศเกี่ยวกับ ความร่วมมือและความช่วยเหลือด้านสุขภาพจิต
3. เป็นศูนย์ข้อมูลและเทคโนโลยีสารสนเทศของกรม
4. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย

ตั้งแต่วันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2556 กองแผนงานได้เปลี่ยนชื่อจากเดิมกองแผนงาน เปลี่ยนเป็น สานักยุทธศาสตร์สุขภาพจิต เพื่อช่วยผลักดันเป้าหมายเชิงนโยบายของกรมสุขภาพจิตที่จะเป็น National Mental Health Authority (NMHA) ตามหนังสือสานักยุทธศาสตร์ สุขภาพจิต ที่ สธ 0804.1 / 1482 ลงวันที่ 2 ตุลาคม 2556 โครงสร้างปฏิบัติงานจริงภายในของสานักยุทธศาสตร์สุขภาพจิตในปัจจุบัน ประกอบด้วย
1. กลุ่มอานวยการ
2. กลุ่มพัฒนานโยบายและยุทธศาสตร์
3. กลุ่มพัฒนาระบบแผนงานและงบประมาณ
4. กลุ่มพัฒนาข้อมูลและสารสนเทศ
5. ส่วนเลขานุการคณะกรรมการสุขภาพจิตแห่งชาติ
6. ส่วนสุขภาพจิตระหว่างประเทศ
มีข้าราชการ จานวน 22 อัตรา
พนักงานราชการ จานวน 31 อัตรา
รวม 53 อัตรา
(ข้อมูล ณ 1 ตุลาคม 2557)
ไฟล์แนบ :  << ไม่มีไฟล์แนบ >>